บ้านพลังงานเป็นศูนย์ Zero Energy House (ZEH)
ข้อมูลจาก World Economic Forum (WEF) ได้จัดทำรายงานความเสี่ยงประจำปี 2021 ระบุถึงวิกฤติของสภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างรุนแรง รวมถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยมีสาเหตุหลักอันเกิดจากมนุษย์ ซึ่งขณะนี้กำลังส่งผลต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งแวดล้อมและโลกของเราแล้ว และหากไม่มีแนวทางป้องกันหรือปกป้องโลกของเราก็จะวิกฤติไปสู่คนรุ่นในอนาคต จากจุดนี้เองทำให้องค์กรภาคเอกชน ภาครัฐ ตระหนักและให้ความสำคัญ รณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง นำหลักการบริหารธุรกิจและองค์กรเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Development และ เสนาฯ ก็ได้นำแนวคิดนี้มาพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายพัฒนา บ้านพลังงานเป็นศูนย์ Zero Energy House (ZEH) คือลดการใช้พลังงานให้ได้ไม่ต่ำกว่า 20% รวมการใช้พลังงานสะอาด เพื่อสิ่งแวดล้อมน่าอยู่อย่างยั่งยืน

ก้าวใหม่ของการเริ่มต้นพัฒนาบ้าน SENA HHP Zero Energy House (SENA HHP ZEH) ตามกรอบแนวคิดของ Hankyu Hanshin Properties โดยในปี 2023 นี้ เสนาฯ ได้เตรียมความพร้อมเพื่อก้าวไปอีกขั้นกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ Sustainable Development และ Net Zero Emissions ด้วยการนำแนวคิด Net Zero Energy House (ZEH) จากญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกรณีศึกษาจริงจาก Partner ทางธุรกิจอย่าง Hankyu Hanshin Properties (HHP) มาเป็นต้นแบบของการพัฒนาและประยุกต์ใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนไทย
พร้อมสรุปความหมายของบ้าน Zero Energy House แบบเข้าใจง่ายๆ คือ บ้านหรืออาคารที่มีการออกแบบเพื่อลดการใช้พลังงาน โดยการเลือกใช้วัสดุที่ช่วยประหยัดพลังงาน และการออกแบบเพื่อกันความร้อน โดยมีการผลิตพลังงานหมุนเวียนหรือพลังทดแทนขึ้นใช้เอง เช่น การติดโซลาร์เซลล์ เป็นต้น "จากปัจจัยทั้ง 2 ข้อนี้ ทำให้เราใช้พลังงานไฟฟ้าจากภายนอกลดลงจนเป็นศูนย์ หรือใกล้ศูนย์มากที่สุด"
จากแนวคิดบ้านประหยัดพลังงาน SENA HHP Zero Energy House (SENA HHP ZEH) ที่เสนาฯ ร่วมกับพาร์ทเนอร์ Hankyu Hanshin Properties ทำให้เสนาฯ เป็นอสังหาฯรายแรกในไทยที่นำเรื่องบ้านพลังงานเป็นศูนย์ Zero Energy House มาพัฒนาที่อยู่อาศัย เพื่อทำให้ปัญหาสิ่งแวดล้อมลดลง และน่าอยู่ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีเรื่อง geo Fit+ ที่เสนาฯ ร่วมกันพัฒนากับ Hankyu Hanshin Properties ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญเรื่องเทคโนโลยีการก่อสร้าง การนำความคิดเห็น ความต้องการของผู้อยู่อาศัยมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการ ในทิศทางเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม หรือ ‘Tsunagu’ ประกอบด้วย Solar Rooftop ดีไซน์การลดพลังงานภายในบ้าน เป็นต้น
เสนาฯ บุกเบิกบ้านพลังงานเป็นศูนย์ แบ่งเกณฑ์เป็น 4 ระดับ เพื่อสิ่งแวดล้อมน่าอยู่ บ้านพลังงานเป็นศูนย์ มีการแบ่งเกณฑ์ออกเป็น 4 ระดับ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ยังไม่มีในประเทศไทย คือ




เสนาฯ ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการพัฒนาโครงการที่เหมาะสมตามแนวทาง Zero Energy House (ZEH) เพื่อวิจัยพัฒนาแนวทางการลดพลังงานภายในที่อยู่อาศัยให้เป็นตามไปเป้าหมาย ขณะนี้การวิจัยมีความคืบหน้าต่อเนื่องในการสร้างบ้านต้นแบบ โดยการนำวัสดุชนิดต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพด้านการประหยัดพลังงาน และการวางระบบการบริหารจัดการโครงการ เพื่อให้สามารถลดการใช้พลังงานภายในโครงการและบ้านที่อยู่อาศัย และพร้อมเดินหน้าวิจัยและพัฒนา เพื่อลดภาระการใช้พลังงานให้กับลูกบ้านได้ตามเป้าที่วางไว้

1.กลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าสูง โดยบ้านพลังงานเป็นศูนย์ (Zero Energy House) ที่ติดโซลาร์ สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ 55% เมื่อเทียบบ้านทั่วไป
2.กลุ่มที่ใช้ไฟปานกลาง บ้านพลังงานเป็นศูนย์ (Zero Energy House) ที่ติดโซลาร์ สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ 70% เมื่อเทียบบ้านทั่วไป และ
3.กลุ่มที่ใช้ไฟน้อย บ้านพลังงานเป็นศูนย์ (Zero Energy House) ที่ติดโซลาร์ สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ 90% เมื่อเทียบบ้านทั่วไป อย่างไรก็ดีทางเสนาพร้อมเดินหน้าวิจัยและพัฒนา เพื่อลดภาระการใช้พลังงานให้กับลูกบ้านได้ตามเป้าที่วางไว้
การเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
ผลกำไรไม่ได้แสดงถึงความสำเร็จของทุกองค์กรอีกต่อไป จากความตื่นตัวในปัญหาด้านสังคม ไม่ว่าจะเป็นแรงงานผิดกฎหมาย สิทธิมนุษยชน ความปลอดภัย และชีวอนามัย หรือสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย ส่งผลให้ทุกองค์กรต้องคำนึงถึงแนวทางการจัดการอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่นเรื่อง CSR, Carbon Footprint, Green Supply Chain, Circular Economy, Bio Technology ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือในทุกระดับภูมิภาค เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
Sustainability หรือความยั่งยืน เป็นเทรนด์ของโลกมานานพอสมควรแล้ว ด้วยความเสื่อมโทรมลงอย่างมากของสิ่งแวดล้อม และความจำเป็นของธุรกิจกับวิถีชีวิตที่ต้องดำเนินต่อไป ทั้งจะยิ่งมีความเข้มข้นมากขึ้นทุกขณะ และเรียกได้เป็น Mega Trends ที่ทุกธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับมือ อันเนื่องจากทุกมิติของโลกยุคใหม่จะต้องมีการเชื่อมโยงเรื่องความยั่งยืนเข้าไปด้วยอย่างแน่นอน ซึ่งมิติด้านความยั่งยืนนี้เป็นเทรนด์ที่สามารถเกี่ยวโยงได้ในอีกหลากหลายเทรนด์ เช่น อาหารยั่งยืน, New Business Model, Technology & Innovation เป็นต้น
ขณะเดียวกันในด้านการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม (Ethical Business Operation) มีสาเหตุหรือแรงขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดแนวโน้มนี้จากสังคมต้องการความมั่นใจว่าสินค้าและบริการที่จะซื้อหานั้น มีความเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค (Social Trust) ไม่ผ่านการเอารัดเอาเปรียบ (Fairness) ทุกรูปแบบ มาจากการดำเนินธุรกิจที่มีจริยธรรม (Good Governance) และตรวจสอบได้ หากแนวโน้มนี้เป็นการเรียกร้องจากผู้บริโภคโดยตรง จะยิ่งเป็นปฏิกิริยาเร่งให้ผู้ประกอบการมีการแสดงออก และเรียกร้องถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมที่เข้มแข็งมากขึ้น
การสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
Health & Well-being นั้นเป็นเรื่องของการมีสุขภาวะที่ดี จะแตกต่างจากคำว่า Wellness ที่หมายถึงเรื่องของสุขภาพดีทางร่างกาย แต่ Well-being นั้นมีความหมายที่ครอบคลุมมากกว่า เพราะนับรวมตั้งแต่การมีสุขภาพกาย สุขภาพใจ รวมไปถึงสุขภาวะทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย การมีคุณภาพความเป็นอยู่ของชีวิตที่ดี ยังส่งผลต่อ Productivity กับเราโดยตรง เพราะเมื่อไรที่เราไม่ได้อยู่ในสภาวะที่ดีไม่ว่าจะทางกาย ทางใจ หรือ ทางสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานหรือทำกิจกรรมอื่นๆของเราต่ำลง ดังนั้นการหันกลับมาดูแลร่างกายให้อยู่ในจุดที่เรียกว่า Optimum Health (สุขภาพที่สมบูรณ์สูงสุด) ก็จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานและการใช้ชีวิตของเราก็จะดีขึ้น และไม่มีอาการอารมณ์แปรปรวนให้คนรอบตัวเสียสุขภาพจิต
ประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 นั้นมีมากถึง 12,116,199 คน คิดเป็น 18.3% ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 0.5% ขณะที่ Aging Society หรือสังคมสูงอายุก็เป็นอีกเทรนด์ที่สังคมโลกต่างให้ความสำคัญ ผู้คนจะมีชีวิตยืนยาวมากขึ้น อันเป็นผลจากการให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาด้าน Health & Well-being ทั้งในด้านสุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งเป็นการให้ความสําคัญกับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ที่ลึกซึ้งมากขึ้น
แนวโน้มนี้จะทําให้เกิดการพัฒนาด้านวิทยาการทางการแพทย์และสุขภาพต่างๆ ใน อนาคต เช่น Nutraceutical, E-Health / M-Health, Health Kiosks, Cybernetics, Healthcare Tourism, Wonder Drugs, Non-Invasive Surgery, Gene Therapy, Robo-doctors ฯลฯ
ขณะที่ภัยคุกคามจากการอุบัติใหม่ของโรค ก็เป็นอีกเทรนด์โลกที่คาดว่าจะเกี่ยวพันกับเมกะเทรนด์ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคน ทำให้เทรนด์นี้จะมีการแตกแขนงในได้ในหลายมิติ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาพรวมที่ขยายวงกว้างมาก
การขยายตัวของสังคมเมือง
การเติบโตของชนชั้นกลางส่งผลให้ชุมชนกลายเป็นเมืองและเกิดการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ทำให้ธุรกิจการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวเติบโต นอกจากนี้ Urbanization ทำให้ผู้คนในต่างจังหวัดเริ่มหันมายกระดับการดำเนินชีวิตให้ทันสมัยและสะดวกสบายในวิถีแบบคนเมือง ในทางกลับกัน หากหัวเมืองต่างจังหวัดเติบโตไม่ทัน เราจะเห็นการหลั่งไหลของประชากรต่างจังหวัดเข้ามาอยู่ในเขตเมืองมากขึ้น รวมถึงขนาดครอบครัวในเขตเมืองเล็กลง ส่งผลให้ที่พักอาศัยในเขตเมืองที่มีพื้นที่จำกัด เช่น คอนโดมิเนียม อพาร์ทเมนท์ และทาวน์เฮ้าส์ ขยายตัว และจะเกิดการเร่งพัฒนาสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองอีกด้วย
การขยายตัวของเมืองและสัดส่วนประชากรที่ย้ายมาอาศัยแถบชานเมืองเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้โครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะขยายตัวตาม เพื่อรองรับการดำเนินชีวิต ไม่เว้นแม้แต่สถานที่ท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้า ออฟฟิศ และที่พักอาศัย จนส่งผลต่อการลงทุนสร้างระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้นกว่า 50% เพื่อเชื่อมชานเมืองโดยรอบให้เข้าถึงใจกลางของเมืองอย่างง่ายดายและไร้ข้อจำกัด แนวคิดเกี่ยวกับการฟื้นฟูเมืองถูกนำกลับมาพูดใหม่อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น เช่น แนวคิดเมืองอัดแน่น (Compact City) แนวคิดเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และแนวคิดการสร้างความสมดุลระหว่างแหล่งงานและที่อยู่อาศัย (Job and Housing Balance) เมื่อโครงสร้างประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง ก็จะมีธุรกิจเกิดขึ้นมากมายเพื่อรองรับประชาชนซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของ Urbanization ทั้งสิ้น
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี
ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของทุกคน รวมทั้งการดำเนินงานต่างๆ ขององค์กร จากกระแส Digitization การนำเทคโนโลยีอันชาญฉลาดเข้ามาใช้เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในยุคดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น Artificial Intelligence, RFID, Cloud Computing, 3D Printing, การทำให้เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสารกันได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) รวมทั้งความสามารถของ Quantum Computing ที่ประมวลผลเร็วกว่าคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ในปัจจุบัน 100 ล้านเท่า ที่อาจจะได้เห็นในอีกไม่กี่ปีนี้
ยังมีประเด็นเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cyber Security, Big Data Blockchain, การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงทำนาย (Predictive Data Analytics), โซลูชันที่ไร้สัมผัสและไร้แรงเสียดทาน (Touchless & Frictionless Solutions) และเทคโนโลยี 5G การจดจำใบหน้า (Facial Recognition) ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญของการทำธุรกิจในยุคปัจจุบัน กล่าวได้ว่าเป็นยุคที่มนุษยชาติกำลังก้าวเข้าสู่การเพิ่มขึ้นของวิวัฒนาการที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีด้วยความเร็วที่ไม่เคยมีมาก่อน
นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตยังก่อให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ เช่น Sharing Economy โดยการแบ่งปันทรัพยากรผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เปลี่ยนบทบาทจากผู้บริโภคมาเป็นผู้ส่งมอบ การใช้ Social Media ส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคไร้ขีดจำกัด และรูปแบบการดำเนินธุรกิจขององค์กรขยายออกไปได้อย่างกว้างขวางและไร้พรมแดน ทำให้มองว่าเศรษฐกิจในอีก 10 ปีข้างหน้า จะถูกขับเคลื่อนจากแพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างสมบูรณ์